ในโลกปัจจุบันนี้การทำธุรกิจ มีองค์ประกอบ และปัจจัยหลายๆอย่าง ที่เข้ามามีบทบาท ในการช่วยส่งเสริมธุรกิจ ให้ดำเนินไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ เครื่องชั่งน้ำหนัก เพราะเครื่องชั่งน้ำหนักจะช่วยให้คุณ ประหยัดแรงงานและเวลาในการทำงาน ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ป้องกันและแก้ไขปัญหา ความสิ้นเปลืองศูนย์เปล่า ของการใช้วัตถุดิบในกระบวนการผลิต
ตรวจสอบความถูกต้องของน้ำหนักและปริมาณของวัตถุดิบผลิตผลและสินค้าต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านการผลิต นำเข้า,ส่งออก จัดจำหน่ายรับมอบสินค้า การควบคุมสต๊อกสินค้า เพิ่มความน่าเชื่อถือ มีมาตรฐานสากลในการผลิต และจัดจำหน่ายสินค้า
promotion ล่าสุด
เครื่องชั่งน้ำหนักสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. เครื่องชั่งไม่ใช้ไฟฟ้า หรือ เครื่องชั่งแม็กคลานิค
ออกแบบโดยอาศัยระบบหลักการของ คานถ่วงดุลน้ำหนัก กลไกใบมีด เฟืองทด สปริง อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ อาจใช้ หลายระบบร่วมกันในเครื่องชั่งตัวเดียวกันก็ได้ เพื่อให้เกิดแรงกด หรือแรงดึง แล้วเปลี่ยนเป็นน้ำหนักของวัตถุที่เราชั่งแสดงที่หน้าจอ อย่างเช่น เครื่องชั่งเข็ม เครื่องชั่งคานเลื่อน เครื่องชั่งสปริง เครื่องชั่งหน้าปัด เครื่องชั่งไฮโดรลิค เครื่องชั่งเบเกอรี่ เครื่องชั่งกระบอก เครื่องชั่งแขวน เครื่องชั่งสองหน้าเครื่องชั่งสองแขน
เครื่องชั่งไฟฟ้า หรือ เครื่องชั่งอิเลคทรอนิกส์ เครื่องชั่งชนิดนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน
1.1. Load Cellโหลดเซล
มีหน้าที่เป็นตัวรับแรงกด หรือ แรงดึง แล้วส่งสัญญาณ Analog หรือ Digital ออกไปยังส่วนประมวลผล โหลดเซลแบ่งออก เป็น 2 แบบ
- โหลดเซลแบบ Strain Gauge ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยม มีร่องเว้า 4 ร่อง ในโหลดเซลนี้จะประกอบด้วยวงจร R 4 ชุด เมื่อเราวางวัตถุบนเครื่องชั่ง ค่าของ R นี้ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลง แล้วส่งสัญญาณไปยังส่วนประมวลผล โหลดเซล Strain Gauge แบบนี้ราคาถูก ความละเอียดต่ำ นิยมนำมาติดตั้งในเครื่องชั่งอุตสาหกรรม
- โหลดเซลแบบ Electromagnetic Force มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ในโหลดเซลนี้จะมีหน้าที่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อมีการวางวัตถุบนเครื่องชั่งก็จะเกิดการยุบตัวของสนามแม่เหล็ก หลังจากนั้นก็จะส่งสัญญาณออกไปยังส่วนประมวลผล โหลดเซลชนิดนี้มีราคาแพง มีความละเอียดสูง ความแม่นยำและเที่ยงตรง สูงกว่า Strain Gauge ประมาณ 10 เท่า ดังนั้นจึงนิยมนำมาติดตั้งในเครื่องชั่งความละเอียดสูง เช่น เครื่องชั่งห้องแล็ป เครื่องชั่งวิเคราะห์
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เครื่องชั่งไฟฟ้า มีหลักปฏิบัติที่ควรรู้อย่างไร
1.2 Indicator หัวอ่านน้ำหนัก หรือ จอแสดงผล
มีหน้าที่ประมวลผลของสัญญาณที่ส่งออกมาจาก โหลดเซล ให้เป็นตัวเลขแสดงค่าของน้ำหนักที่เราชั่งบนหน้าจอแสดงผล สำหรับวงจรประมวลผลนี้บางเครื่องอาจติดตั้งในหัวอ่านเลย หรืออาจจะติดตั้งอยู่ Mainboard
ในประเทศไทยมีจำหน่ายอยู่หลายยี่ห้อ เช่น Mettler-Toledo , Tanita , Ohaus , Sartorius , Jadever , AND เป็นต้น
2. เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล
เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการวัดน้ำหนัก เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอลมีหลากหลายขนาด และทำจากความหลากหลายของวัสดุ เครื่องชั่งน้ำหนักชนิดนี้จะมีความแตกต่างจากเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดั้งเดิม เพราะรูปแบบการทำงานจะอยู่บนหลักการของเทคโนโลยี ภายใต้เงื่อนไขบางประการ
เมื่อน้ำหนักมีการคำนวณ จะถูกโอนไปยังสัญญาณดิจิตอลหรืออิเล็กทรอนิกส์ และแสดงในรูปแบบดิจิตอล ในรูปแบบที่แตกต่างกันตามแต่ละแบรนด์
ประเภทของเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล
- แบบพกพา มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาสะดวก เหมาะสำหรับการชั่งสิ่งของขนาดเล็ก เช่น พระเครื่อง เหรียญ ทองคำ ความละเอียดในการชั่งน้ำหนัก 0.01g ชั่งน้ำหนักได้สูงสุดไม่เกิน 200 – 300 กรัม
- แบบตั้งโต๊ะ เหมาะสำหรับวางบนโต๊ะ ชั่งน้ำหนักส่วนผสมในการประกอบอาหาร ชั่งน้ำหนักได้สูงสุดถึง 30 กิโลกรัม
- แบบตั้งพื้น สำหรับการชั่งน้ำหนัก สิ่งของ วัตถุ ที่มีน้ำหนักมากๆ มีขนาด 100 – 1000 กิโลกรัมให้เลือกใช้งาน มีหน้าจอ LCD ให้ดูข้อมูล น้ำหนักได้สะดวก
- แบบแขวน เหมาะสำหรับการพกติดตัว ขนาดเล็กกระทัดรัด ชั่งน้ำหนักได้สูงสุดถึง 50 กิโลกรัม
- แบบความละเอียดสูง ความละเอียดในการชั่งน้ำหนักสูงถึง 0.001g เหมาะสำหรับการชั่งน้ำหนักเพชร พลอย ทองคำ หรือสิ่งของที่ต้องการความละเอียดสูงสุดในการชั่งน้ำหนัก
การที่จะเลือกใช้เครื่องชั่งชนิดใดนั้น ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในแต่ละงาน เพราะเครื่องชั่งแต่ละแบบนั้น มีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน
ข้อควรระวังในการเก็บรักษาเครื่องชั่งน้ำหนัก
การใช้เครื่องชั่งต้องมีการระวังและรักษาให้ดี เพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายของเครื่องชั่ง ซึ่งอาจจะทำให้น้ำหนักคลาดเคลื่อน จนไม่สามารถนำมาใช้งานได้ ดังนั้นทุกครั้งที่ใช้เครื่องชั่งผู้ใช้ควรปฏิบัติดังนี้
- เครื่องชั่งต้องตั้งอยู่ที่บนที่แน่นหนามั่นคง อย่าให้มีการสะเทือน ไม่ควรตั้งใกล้หน้าต่างหรือใกล้ความร้อน อย่าให้แสงแดดส่องถูกเครื่องชั่งโดยตรง และฐานของเครื่องชั่งต้องอยู่ในแนวระนาบ
- ก่อนชั่งต้องปรับให้เข็มของเครื่องชั่งอยู่ที่ขีด 0 พอดี และขณะชั่งต้องตรงกึ่งกลางของเครื่องชั่งเสมอ เพื่อไม่ให้การอ่านน้ำหนักผิดพลาด
- ห้ามวางสารเคมีที่จะชั่งบนจานเครื่องชั่งโดยตรง เพราะสารเคมีอาจทำให้จานชำรุดเสียหายได้ ต้องวางสารเคมีบนกระจกนาฬิกา หรือขวดชั่งสารเสมอ อย่าใช้กระดาษรองสารเคมีในการชั่งสารเคมีอย่างเด็ดขาด
- การชั่งสารที่กัดโลหะต้องใส่สารในขวดชั่งสารที่มีฝาปิดมิดชิด
- ห้ามนำวัตถุหรือสารเคมีที่ยังร้อนอยู่ไปชั่ง วัตถุที่นำมาชั่งต้องมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิของห้อง
- ห้ามใช้มือหยิบตุ้มน้ำหนักหรือวัตถุที่จะชั่ง เพราะน้ำหนักอาจเปลี่ยนแปลงเนื่องจากเหงื่อที่ติดอยู่ที่นิ้วมือ ต้องใช้ปากคีบหยิบตุ้มน้ำหนักหรือใช้กระดาษพับเป็นแผ่นเล็กๆ คาดรอบขวดชั่งหรือตุ้มน้ำหนักเสมอ
สาเหตุที่ทำให้เครื่องชั่งน้ำหนักอ่านค่าผิดพลาด
- วัตถุหรือสารที่มีการปนเปื้อน
- มีความชื้นปนอยู่
- มีสิ่งสกปรกเจือปน เนื่องจากสารเคมีสกปรก เสื่อมคุณภาพ ช้อนตักสารสกปรกหรือภาชนะชั่งสกปรก
- แรงจากภายนอก
- ลม ความร้อนจากวัตถุทำให้เกิดอากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น และอากาศเย็นไหลเข้ามาแทนที่ พร้อมกับดันวัตถุขึ้น เมื่อชั่งจึงทำให้วัตถุชั่งได้น้อยกว่าปกติ
- แรงดูดหรือแรงผลักระหว่างประจุ เมื่อวัตถุหรือสารมีประจุไฟฟ้า กรณีประจุที่เหมือนกันจะผลักกันทำให้ชั่งน้ำหนักได้มาก กรณีที่ประจุต่างกันจะดูดกัน เมื่อซึ่งน้ำหนักน้อยกว่าเป็นจริง
- แรงหนีศูนย์กลาง เกิดจากการหมุนของโลก
- แรงดึงดูดจากดาวเคราะห์ดวงอื่นระยะทางระหว่างวัตถุกับดาวเคราะห์เหล่านั้น
สาเหตุที่ทำให้ครื่องชั่งชำรุดเสียหาย
- เสื่อมสภาพจากการใช้งานปกติ เป็นเวลาหลายปี
- สารเคมีหกลงในตัวเครื่อง ให้รีบปิดเครื่องหรือดึงสายที่เข้าเครื่องออกทันทีและนำเครื่องส่งซ่อม
- เศษผงและวัสดุที่ชั่งตกหล่นลงไปในระบบของเครื่องชั่ง ให้ทำการเปิดฝาจานชั่งออกและใช้ลมเปาแต่ต้อง
- เกินจากการกระแทก ทำให้ระบบ Load Cell ได้รับความเสียหาย
- เกินจากระบบไฟ Over Load ทำให้ชุดวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในตัวเครื่องเสียหาย
- การใช้งานผิดประเภท หรือ ไม่เหมาะกับสภาพแวดล้อม เช่น ในห้องเย็น ควรเลือกใช้เครื่องชั่งประเภทป้องกันความชื้น
ขั้นตอนการบำรุงรักษาเครื่องชั่งน้ำหนัก
- ตรวจด้วยตาเปล่า มีจุดประสงค์ที่จะหาความผิดปกติที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่า ทั้งภายนอก และภายในเครื่อง
- การทำความสะอาด ภายนอกอาจใช้ ผงซักฟอกหรือน้ำสบู่ สารละลายอินทรีย์ที่เหมาะสม เช็คถูโดยไม่ทำให้เครื่องมือเสียหาย ส่วนการทำความสะอาดภายใน หรือที่เป็นชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกควรใช้ลมดูดหรือลมเป่า สิ่งสกปรกโดยเฉพาะฝุ่นละออง สายไฟเก่าหรือสกปรกเปลี่ยนใหม่
- การทดสอบ (function testing) ว่ายังใช้งานได้หรือไม่ ถ้าผิดปกติ ซ่อม แก้ไข หรือลองทำการปรับ (calibrate) เครื่องให้ถูกต้องก่อน
- การทดสอบความปลอดภัย (safety testing)
ประโยชน์ของการบำรุงรักษาเครื่องน้ำหนัก
- ลดการผิดพลาดของเครื่องชั่งได้
- ลดจำนวนของการซ่อมแซม ลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาที่เครื่องจะไม่ได้ใช้งาน
- ยืดอายุการใช้งานของเครื่องชั่ง
- ลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากความผิดปกติในเครื่องมือ
- ลดเวลาที่ใช้ในการซ่อมแซม เพราะเครื่องมือที่ได้รับการบำรุงรักษาอยู่เสมอ ๆ จะช่วยให้ทราบสาเหตุของการเสียหายได้ง่าย
วิธีชาร์จแบตเครื่องชั่งน้ำหนักที่ถูกต้อง
คำแนะนำการใช้งานแบตเตอรี่ ชาร์จยังไง ไม่ให้แบตเสื่อม
- ในกรณีแบตเตอรี่ซื้อมาใหม่ ควรทำการ CHARGE และ DISCHARGE ประมาณ 3 รอบก่อน เพื่อกระตุ้นปฏิกริยาเคมีของแบตเตอรี่ ให้ทำงานอย่างเต็มที่
- ควรเก็บ หรือ ชาร์จแบตเตอรี่ไว้ในที่อุณหภูมิต่ำ ปราศจากความชื้นแสงแดด และฝุ่นละออง
- คุณสมบัติของแบตเตอรี่ จะคายประจุเองโดยอัตโนมัติ หากแบตเตอรี่ได้รับการชาร์จแล้วและเก็บไว้ ไม่ได้ใช้งานเกินกว่า 2 อาทิตย์ ควรนำไปชาร์จใหม่ก่อนนำไปใช้อีกครั้ง
- ควรชาร์จแบตเตอรี่ด้วยเครื่องชาร์จที่มีมาตรฐาน มีคุณสมบัติปรับสภาพการชาร์จอัตโนมัติมีระบบป้องกันการ OVER CHARGE และอุณหภูมิสูงเกินกว่าซึ่งอาจจะทำแบตเตอรี่เสื่อมสภาพง่าย
- ควรทำการ DISCHARGE แบตเตอรี่ อาทิตย์ละ 1 ครั้ง เพื่อปรับสภาพแบตเตอรี่ ควรใช้แบตเตอรี่จนเครื่องแสดงสถานะ “LOW BATT” แล้วจึงนำแบตเตอรี่ไปชาร์จใหม่ซึ่งจะทำให้อายุของแบตเตอรี่ยาวนานขึ้น
- ไม่ควรดัดแปลงหรือแก้ไขแบตเตอรี่เอง โดยมีได้รับคำแนะนำจากช่างผู้ชำนาญ อาจจะทำให้แบตเตอรี่เสียหายได้
ACCURACY = ค่าความคลาดเคลื่อน
ANALOG SECTIONS = ส่วนกลไกแบบเข็ม
BAUD RATE SELECTION = ค่าความเร็วในการส่งสัญญาณออก
BUIT-IN NICD BATTERY UNIT = มีแบตเตอรี่ภายใน
CALIBRATION = การปรับน้ำหนัก / ปรับจูนเครื่องให้เป็นมาตรฐาน
CAPACITY = พิกัดกำลังของเครื่องชั่ง
DIGITAL = เกี่ยวกับตัวเลข,เกี่ยวกับนิ้ว (ระบบตัวเลข)
DIGITAL SECTIONS = ส่วนตัวเลขอิเล็กทรอนิค
DIVISION = ค่าความเปลี่ยนแปลงของตัวเลขต่อ 1 หน่วย
ELECTROMAGNETIC = สนามแม่เหล็กไฟฟ้า, เครื่องมือแม่เหล็กไฟฟ้า
FLUORESCENT DISPLAY = จอแสดงผลตัวเลขเรืองแสง
GRADUATION = เครื่องหมายหรือขีดต่างๆที่บอกระดับหรือปริมาณต่างๆ
GROSS WEIGHT = น้ำหนักรวมของที่ชั่งได้ (TARE + ACTUAL WEIGHT)
INDICATOR = หัวอ่าน หรือจอแสดงผลน้ำหนัก
IP x 5 REGULATIONS = เกี่ยวกับความคงทนเช่น IP65, IP67, IP68
LCD = LIQUID CRYSTAL DISPLAY ตัวเลขผนึกเหลวสีดำ
LED = LIGHT – EMITING DIODE ตัวเลขเรืองแสงสีแดง
LINEARITY = ค่าความเสมอต้นเสมอปลาย
LOAD CELL = อุปกรณ์รับแรง หรือรับน้ำหนัก
NBS = NATIONAL BUREAU OF STANDARDS
NET WEIGHT = น้ำหนักสุทธิที่ชั่งของ
NIST = THE NATIONAL INSTITUTE OF STANDARDS AND TECHNOLOGY
OEM = ORIGINAL EXPORT MANUFACTURER
OIML = INTERNATIONAL ORGANIZATION FOR LEGAL METROLOGY
PAN SIZE = เครื่องชั่งเล็ก
PERIPHERALS = สัญญาณที่ส่งออกแบบ PERIPHERALS
PLA = เสา 80 ซม.
PLATFORM = แท่นชั่งแผ่นใหญ่
PLATTER SIZE = ขนาดบริเวณที่ชั่ง
PTB = STANDARDS ของ GERMANY
RATTLETRAP = ศัพท์เฉพาะที่ทำให้ตัวเลขนิ่งมากขึ้น,สัญญาณดังรัว
READABILITY = ค่าหน่วยที่สามารถตั้งให้อ่านได้
RESOLUTION = ค่าความละเอียด
SET POINT = จุดตั้งค่าที่จะให้แสดงให้เห็น, จุดตัด
TARE WEIGHT = น้ำหนักภาชนะที่หักออก
TOOLSTEEL = เหล็กธรรมดาอย่างแข็ง, เหล็กกล้าสำหรับทำเครื่องมือ
TRACEABLE = สามารถสอบกลับไปได้
TUNING FORK = ส้อมเสียง, ส้อมสัญญาณที่ทำให้เกิดระดับเสียงคงที่
UNCERTAINTY = ค่าของความไม่แน่นอน
W & M = WEIGHT & MEASURE
WEIGHT SENSOR = ตัวรับสัญญาณน้ำหนัก
หน่วยของเครื่องชั่ง
1 Kg. = 1,000 G. (กรัม)
1 G. = 1,000 Mg. (มิลลิกรัม)
1 Mg. = 1,000 Micogram (ไมโครกรัม)
1 G. = 5 Ct. (กะรัต)
ทอง 1 บาท = 15.2 G. (กรัม)
1 Kg. = 2,204 Lb. (ปอนด์)
1 Lb. = 16 Oz. (ออนซ์)
การอ่านค่าความละเอียดของหน่วยการชั่งหลังจุดทศนิยม
1,000 กิโลกรัม = 1,000 กรัม
0.1 กิโลกรัม = 100 กรัม
0.01 กิโลกรัม = 10 กรัม
0.001 กิโลกรัม = 1 กรัม
1,000 = 1000 มิลลิกรัม
0.1 กรัม = 100 มิลลิกรัม
0.01 กรัม = 10 มิลลิกรัม
0.001 กรัม = 1 มิลลิกรัม
0.0001 กรัม = 0.1 มิลลิกรัม
0.00001 = 0.01 มิลลิกรัม
วิธีเลือกซื้อเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอล
การคำนึงถึงการเลือกซื้อเครื่องชั่งน้ำหนักที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ซื้อ คือสเปคและฟังก์ชั่นรายละเอียดต่างๆของเครื่องชั่งที่ตรงจุด ให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าในการใช้งานเครื่องชั่งในรายนั้นๆ และสิ่งที่ต้องคำนึงถึงที่สำคัญรองลงมาจากนี้ คือ
1. ยี่ห้อ
- ยี่ห้อเครื่องชั่งที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO ถูกต้องตามกฎหมาย
2. ราคา
- ราคาของเครื่องชั่งต้องเหมาะสมกับคุณภาพ ควรเปรียบเทียบราคาและสเปคของแต่ละยี่ห้อให้ได้ตามความจำเป็นและความคุ้มค่า
3. คุณภาพ
- ควรศึกษาความรู้เกี่ยวกับลักษณะของสินค้าว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ รวมถึงอายุการใช้งานของเครื่องชั่
4. การรับประกัน
- ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของบริษัท เพื่อให้เกิดความแน่ใจในการรับรองว่าเครื่องชั่งทุกเครื่องอยู่ภายใต้การรับประกัน ซึ่งทางบริษัทดีโปรดักส์จะมีใบรับประกันสินค้าให้ทุกเครื่องเป็นระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่ซื้อสินค้า
5. ใบเซอร์
- มีใบเซอร์หรือใบรับรอง เพื่อทำให้มั่นใจได้ว่าเครื่องชั่งทุกเครื่องมีคุณภาพ ผ่านการสอบเทียบน้ำหนักด้วยเครื่องมือวัดที่ถูกต้องได้มาตรฐานตามกระทรวงกฎหมาย
6. ศูนย์บริการซ่อมแซม
- ต้องสะดวกในการหาศูนย์ซ่อมแซมรวมถึงการขนย้ายเครื่องชั่งไปซ่อม ซึ่งหากเครื่องชั่งที่ซื้อไปแล้วมีปัญหาหรือเสียทางบริษัทดีโปรดักส์มีบริการตรวจเช็คและซ่อมแซมให้ลูกค้าที่เครื่องชั่งยังอยู่ในประกันและนอกประกัน อีกทั้งยังมีบริการ
- รับ-ส่ง เครื่องซ่อมฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย
7. การบริการหลังการขาย
- การให้บริการลูกค้าที่ดี เอาใจใส่ความต้องการของลูกค้า ซื่อสัตย์ และไม่เอาเปรียบลูกค้า จึงทำให้ลูกค้ามีความเชื่อใจและไว้วางใจที่จะใช้บริการและยังกลับมาใช้บริการซ้ำ
ซึ่งทั้งหมดที่ได้กล่าวไปนี้ ทางบริษัทดีโปรดักส์ยินดีให้บริการลูกค้าด้วยใจและพร้อมที่จะให้คำแนะนำ คำปรึกษา ทุกปัญหาที่เกี่ยวกับเครื่องชั่งน้ำหนัก
ดูสินค้าโปรโมชั่นและสินค้าขายดีที่นี้เลย เครื่องชั่งดิจิตอล